ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมานี้ โรคที่ทุกคนเริ่มได้ยินบ่อยขึ้นคือโรคซึมเศร้า ถือเป็นโรคที่เด็กวัยรุ่นและคนในวัยทำงานเริ่มเป็นกันอย่างแพร่หลาย อาจด้วยเพราะความเครียด ความกดดันจากการแข่งขันกันในสังคมปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นวัยเรียนที่นอกจากจะแข่งขันกันในด้านการเรียนแล้ว ในด้านความสามารถพิเศษก็ยังมีกระประกวดแข่งขันกัน จึงอาจทำให้เกิดความเครียดสะสมจนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ หรือแม้แต่คนวัยทำงานที่ต้องแข่งกันการคิดสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ เพื่อให้ทันโลกทันต่อความต้องการของคน ก็อาจจะทำให้เกิดความเคร่งเครียดจากงานจนเป็นต้นต่อของการเป็นโรคซึมเศร้าได้ แต่ว่าเรารู้จักโรคซึมเศร้าดีแค่ไหน และจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าคืออะไร
โรคซึมเศร้านั้นเป็นโรคที่เกี่ยวกับสภาวะทางจิตอันมีปัจจัยของการเกิดโรคได้หลายปัจจัย เช่น การสูญเสียครั้งใหญ่ ความเครียด กรรมพันธุ์ หรือเกิดจากสารเคมีในสมองโดยอาการของคนที่เป็นโรคซึมเศร้านั้น หากเราดูผิวเผินอาจไม่สามารถทราบได้เลยว่าคนคนนั้นเป็นโรคซึมเศร้า เพราะผู้ป่วยซึมเศร้ามักไม่แสดงออกว่ากำลังรู้สึกแย่ มักกลบเกลื่อนความรู้สึกตัวเอง ต้องเข้าไปคุยอย่างใกล้ชิดถึงจะสามารถสังเกตได้ว่ามีแนวโน้มในการเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งเราสามารถสังเกตอาการเบื้องต้นของตัวเองได้ ว่าตัวเองมีอาการของโรคซึมเศร้าหรือไม่ดังต่อนี้
- มีอาการซึมเศร้า เก็บตัว ไม่อยากพบปะผู้คน
- น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างมาก
- นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิทหรือมีอาการฝันร้ายบ่อย ๆ หรือนอนมากจนผิดปกติ
- รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา
- ไม่มีสมาธิที่จะทำกิจกรรมอะไรได้นาน ๆ
- มักโทษตัวเองไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร ต่อให้เป็นเรื่องเล็ก ๆ ก็สามารถนำมาคิดโทษตัวเองได้
- รับประทานอาหารได้น้อยลงหรือมากขึ้นจนเกินพอดี
- มีอาการเชื่องช้า ไม่ว่าจะทำกิจกรรมอะไรก็มักจะช้ากว่าปกติ
- มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย
ถ้าหากว่าคุณพบว่ามีอาการตรงตามข้อทดสอบตั้งแต่ 5 ข้อ ขึ้นไปให้สันนิฐานว่าคุณกำลังมีอาการของโรคซึมเศร้า
เมื่อพบว่าตัวเราหรือคนใกล้ตัวมีอาการของโรคซึมเศร้าควรทำอย่างไร
เมื่อคุณสังเกตพบว่าตัวคุณ หรือคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้า วิธีที่แนะนำว่าควรจะทำอย่างเร็วที่สุดคือไปพบแพทย์ ให้แพทย์วินิจฉัยลักษณะอาการ เพื่อจะได้ทำการรักษาอย่างถูกวิธี และไม่ควรอดทนอยู่ในสภาวะซึมเศร้าหรือตึงเครียดนานจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้อาการรุนแรงขึ้น สมัยนี้การไปพบจิตแพทย์ไม่ได้หมายถึงว่าคุณเป็นคนบ้า แต่คุณสามารถไปปรึกษาจิตแพทย์ได้หากคุณมีอาการเครียดสะสม หรือเกิดสภาวะทางอารมณ์ที่รุนแรง และถ้าคุณไม่อยากก้าวเข้ามาอยู่ในสภาวะซึมเศร้า คุณจงใช้ชีวิตสบาย ๆ ไปตึงจนเกินไป รู้จักปล่อยวางชีวิตจะได้มีความสุขมากยิ่งขึ้น