รู้จักเรา รู้จักโรค ชีวิตห่างไกลโรงพยาบาล

“ความไม่มีโรค ย่อมเป็นลาภอันประเสริฐ” ข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ในทุกยุคสมัย ยิ่งกระแสวัตถุนิยมนำความเจริญมาสู่สังคมมากขึ้นเท่าไร โรคภัยไข้เจ็บก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เห็นได้จากผลวิจัยจากหลายสถาบันที่ชี้ชัดตรงกันว่า โรคภัยไข้เจ็บที่คร่าชีวิตมนุษย์ไปไม่น้อยในแต่ละปีนั้น อันดับ 1 ได้แก่ โรคมะเร็ง อันดับ 2 โรคหลอดเลือดหัวใจ  อันดับ 3 โรคเบาหวาน อันดับ 4 โรคความดันโลหิตสูง อันดับ 5  โรควัณโรค  อันดับ 6 โรคปอดเรื้อรัง  อันดับ 7 โรคภูมิแพ้ อันดับ 8 โรคระบบประสาทจิตเวช อันดับ 9 โรคระบบกล้ามเนื้อ และ อันดับ 10 โรคอ้วน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่จะตามมาแบบแพคเก็จเสริมเลยทีเดียว

รู้ดัชนีมวลกาย ห่างไกลโรคอ้วน

เนื่องจากโรคอ้วนเป็นสาเหตุของโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ที่ตามมาอย่างมากมาน  จึงมีการคิดค้นสูตรเพื่อคำณวนหาค่าดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) เพื่อใช้ประเมินภาวะร่างกายของคนเราที่มีอายุตั้งแต่ 20 ขึ้น วิเคราะห์ว่าคน ๆนั้น อ้วนหรือผอมเกินไป โดยการคำณวนจากการน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง

สูตร ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)
ส่วนสูง (เมตร) ยกำลัง 2

ตัวอย่าง เช่น ถ้าคุณมีน้ำหนัก 75 กิโลกรัม และสูง 160 ซม.
ดัชนีมวลกาย (BMI) =   75

ส่วนสูง (1.60) *2

ดัชนีมวลกาย (BMI) = 29.3

สำหรับคนไทยหรือชาวเอเชีย หากดัชนีมวลกายอยู่ในช่วง 25.00 – 29.99 ก็เข้าข่ายต้องเฝ้าระวังโรคอ้วนและปัญหาอื่น ๆ ที่จะตามมา มาว่าจะเป็น โรคความดัน โรคเบาหวาน โรคเกาต์ และโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

คนรุ่นใหม่ ไม่นิยมโรคอ้วน

โรคอ้วนนับเป็นอีกโรคหนึ่งที่คนไทยนิยมเป็นกันมาก เนื่องด้วยวิถีชีวิตของคนในสังคมเมืองแปรเปลี่ยนไป ต้องผูกติดอยู่กับชั่วโมงการทำงานที่เพิ่มมากขึ้นหรือแทบจะตลอดเวลา อีกทั้งรูปแบบการบริโภคที่เน้นความสะดวกรวดเร็ว และมองข้ามการออกกำลังกาย หรือบางรายอาจมีปัญหาเรื่องระบบเผาผลาญพลังงานและไขมันได้น้อยกว่าปกติ ซึ่งเป็นเรื่องของฮอร์โมนหรืออาจเป็นผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน และความดัน เป็นต้น  เมื่อมีน้ำหนักที่เกินกว่าความสูงค่อนข้างมาก แขน ขาและพุงเริ่มหนาขึ้น และมีอาการหายใจลำบาก นั่นคือสัญญาณว่าเราควรที่จะต้องหันมาลดความอ้วนกันแบบจริงจัง ก่อนที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนอันตรายอื่น ๆ ตามมา ทางการแพทย์แนะนำให้ลดน้ำหนักลงอย่างน้อย 10% ภายใน 6 เดือน เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายและหักโหมจนเกินไป เริ่มจากการดูแลเรื่องอาหารการกิน ควรเพิ่มอาหารไขมันต่ำ ลดอาหารไขมันสูง เพิ่มปริมาณผักและผลไม้, ลดความเครียด แล้วหันมาออกกำลังกายให้บ่อยขึ้น เช่น ช่วงเช้าควรออกกำลังกายต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 15 นาที  และในช่วงเย็นอาจหาเวลาเดิน วิ่ง หรือเล่นกีฬาในร่ม อย่างน้อย 30 นาทีขึ้นไป โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ก็จะไม่ถามหา

ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงแนวทางเล็กน้อยสำหรับคนฉลาดเลือกเช่นคุณ แต่อย่าลืมว่าสุขภาพที่ดีไม่มีขาย แต่เริ่มได้ที่ตัวเรา หากเราหันมาศึกษาและเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ เติมคุณค่าสารอาหารให้แก่ร่างกายของ เพียงเท่านี้คุณก็จะกลายเป็นคนทันสมัย รู้จักวิธีดูแลร่างกาย สร้างคุณค่าให้กับตนเอง แถมยังห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บอีกด้วย